แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ นอนกรน “เสี่ยงวูบ – โรคร้าย – อุบัติเหตุ”

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ นอนกรน “เสี่ยงวูบ – โรคร้าย – อุบัติเหตุ
ชวนเช็คอาการเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ

 

กรุงเทพฯ ประเทศไทยการนอนหลับ’ เป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลสุขภาพที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามไป เพราะในความเป็นจริงมนุษย์เราใช้เวลานอนถึง ใน ของชีวิต และการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ใช่แค่เพียง ชั่วโมงต่อวัน แต่ยังจำเป็นต้องนอนหลับอย่างมีคุณภาพด้วย สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เมดิคอลอินเทนซีฟแคร์ จำกัด เปิดตัวโครงการ “นอนไม่กรน ขับไม่ชน รถไม่คว่ำ” เนื่องใน วันนอนหลับโลก 2020’ (World Sleep Day2020ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2563 เพื่อรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับและสัญญาณอันตรายจากการกรน รวมถึงกระตุ้นให้ประชาชนใส่ใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างเหมาะสม

 

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ นายกสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย และหัวหน้าศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “วันนอนหลับโลกในปีนี้ ทางสมาคมฯ มีความประสงค์ที่จะให้ความรู้ประชาชนคนไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ อันตรายจากการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม โดยเราเล็งเห็นว่าทางฟิลิปส์และเมดิคอลอินเทนซีฟแคร์เองก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน จึงเกิดเป็นความร่วมมือในครั้งนี้ ริเริ่มโครงการ “นอนไม่กรน ขับไม่ชน รถไม่คว่ำ” ขึ้น

โดยการสนับสนุนจาก โรงพยาบาล ได้แก่ 1) ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 2) ศูนย์โรคการนอนหลับ โรงพยาบาลรามาธิบดี 3) ศูนย์นิทรรักษ์ ศิริราช โรงพยาบาลศิริราช 4) ศูนย์โรคการนอนหลับ สถาบันโรคทรวงอก และ 5) ศูนย์สหเวชศาสตร์การนอนหลับ สุรศักดิ์มนตรี โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ภายใต้แนวคิด นอนหลับสนิท ชีวิตสุขสันต์ โลกพลันสดใส’ ซึ่งเป็นคำขวัญของวันนอนหลับโลกประเทศไทย เพราะการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในหลายด้านทั้งความจำ ความคิดสร้างสรรค์ การจัดการความเครียด ภูมิต้านทาน และการทำงานของระบบอวัยะต่างๆ ภายในร่างกาย แต่ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงาน และสภาพแวดล้อม ส่งผลให้ผู้คนให้ความสำคัญกับการนอนน้อยลง ซึ่งหากผู้คนนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ย่อมเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน และยิ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตัวเลขอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วง วันอันตรายในปีพ.ศ. 2562 มีการเกิดอุบัติเหตุกว่า 3,338 ครั้ง และคาดว่าอาจมีสาเหตุจากการขับรถหลับในได้สูงถึงร้อยละ20 ซึ่งนั่นเป็นผลมาจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพนั่นเอง”

ด้านแพทย์หญิงนวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทย โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่าต้องบอกว่าปัจจุบันมีผู้เข้ามาปรึกษาเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับอาการนอนกรน ซึ่งส่วนใหญ่มาด้วยความคิดว่าเป็นสิ่งที่รบกวนคนที่นอนด้วย มากกว่าคิดว่าเป็นโรค  แต่ในความเป็นจริงต้องบอกว่า อาการกรนนั้นเป็นสัญญาณเตือนของ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA) โดยสาเหตุของการกรนเกิดได้จากระบบทางเดินหายใจส่วนบนอุดตัน ต่อมทอมซิลโต โคนลิ้นใหญ่ เยื่อหูและจมูกบวม ลิ้นไก่ยาว ช่องคอหย่อน หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษาก็จะทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับได้ และส่งผลให้ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำลงและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้คุณภาพการนอนลดลง เกิดเป็นผลเสียต่อร่างกายเพิ่มขึ้นระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สมาธิสั้น หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากหลับใน โดยเฉลี่ยแล้วอาการกรนจะเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเพราะในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะมีฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการหายใจมากกว่าผู้ชาย”

นายแพทย์สมประสงค์ เหลี่ยมสมบัติ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี กล่าวเสริมว่า จากการศึกษาที่มีในประเทศไทยพบว่าในประชากรผู้ใหญ่วัยทำงาน พบความชุกผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เพศชายอยู่ที่ 15.4% และผู้หญิง 6.3% ในขณะที่ประเทศอเมริกา พบประชากรผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นสูงถึง ใน คน โดยยิ่งอายุมากขึ้นหรือมีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคอ้วน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ทานยานอนหลับบางชนิด รวมถึงฝุ่น PM2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ยังเป็นตัวกระตุ้นให้อัตราการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นเพิ่มสูงขึ้นด้วย เนื่องจากเมื่อระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น เยื่อบุจมูกเกิดการระคายเคือง มีการบวมคัด จะส่งผลให้เกิดทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับง่ายขึ้น นอกจากนี้ ฝุ่น PM 2.5 อาจทำให้ระบบหายใจส่วนล่างและถุงลมปอดเกิดความระคายเคือง เกิดอาการไอ หลอดลมอักเสบ โรคหืดกำเริบ ได้อีกด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับลดลง

 

 

ในแง่ของการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนั้น นอกจากการลดพฤติกรรมเสี่ยงแล้ว แพทย์อาจจะให้การรักษาโดยการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway Pressure:CPAP), การใส่ทันตอุปกรณ์(oral appliance) หรือการผ่าตัด ในการรักษา ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคของผู้ป่วยแต่ละบุคคล

ด้าน นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของฟิลิปส์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน เราจึงเดินหน้าในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพควบคู่กับการนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชั่นด้านเฮลท์แคร์อย่างต่อเนื่อง และด้วยเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการนอนหลับที่สำคัญพอๆ กับเรื่องโภชนาการและการออกกำลังกาย ซึ่งจากผลการสำรวจด้านการนอนประจำปีของฟิลิปส์โกลบอล “Wake Up Call: Global Sleep Satisfaction Trends”1พบว่าประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยการนอนต่อคืนเพียง ชม. และกว่า 47% เปิดเผยว่าไม่พึงพอใจในการนอนของตน โดย ใน 10 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประสบภาวะสะดุ้งตื่นกลางดึกอย่างน้อย ครั้ง และผลสำรวจกว่าครึ่งยอมรับว่าแม้จะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปัจจัยที่ดีที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับ แต่ความเครียดยังคงเป็นปัจจัยอันดับหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอน รองลงมาคือสภาพแวดล้อมในห้องนอน เสียง แสง อุณหภูมิ การใช้มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอน และโรคประจำตัว เราจะเห็นว่าคนส่วนมากยังคงมีปัญหาการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพอยู่

บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด และพันธมิตรคู่ค้าของเรา บริษัท เมดิคอลอินเทนซีฟแคร์ จำกัด จึงได้ร่วมสนับสนุนการทำงานของมาคมโรคจากการนอนหลับแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการ “นอนไม่กรน ขับไม่ชน รถไม่คว่ำ” เพื่อร่วมรณรงค์และส่งเสริมการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมทั้งให้ความใส่ใจต่อการเข้ารับการตรวจหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เพราะเป็นภัยเงียบที่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เรายังได้นำเสนอนวัตกรรมที่ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในระยะยาว” นายวิโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

การเช็คอาการเบื้องต้นของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ให้สังเกตว่าตนเองมีการสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกพร้อมกับอาการหายใจเฮือกหรือไม่ หรือยังมีอาการง่วงอยู่ในช่วงกลางวันแม้จะนอนหลับอย่างเพียงพอ แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่มั่นใจว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือไม่ สามารถทดสอบด้วยตัวเองได้ที่ https://www.cpapmic.com/sleeptest/

——————————————————————-

1 APAC countries surveyed: Australia, China, India, Japan, Singapore, South Korea